29 เม.ย. - 4 พ.ค. - อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์
29 เม.ย. - 4 พ.ค. - อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์
#architect’25

ชูความอ่อนโยนด้านดีไซน์ ด้วยความแข็งแกร่งด้านโครงสร้าง’ รู้จัก Pacific Pipe พันธมิตรที่ซ่อนไว้ในผลงาน ‘Aluminum Grotto’

‘Aluminum Grotto’ หรือ ถ้ำอะลูมิเนียม ผลงาน Thematic Pavilion ที่เป็นหนึ่งในไฮไลต์ประจำงานสถาปนิกปีนี้ คือผลงานการออกแบบของ  HAS design and research ร่วมกับ S-ONE ที่ได้รับแรงบันดาลใจถอดแบบจากถ้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ นำมารังสรรค์ใหม่เพื่อสร้างสเปซที่ผสานระหว่างความล้ำสมัยและธรรมชาติเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ด้วยการนำระแนงอะลูมิเนียมมาจัดเรียงใหม่ เพื่อสร้างเส้นสาย ความโค้ง ลบภาพความเหลี่ยม แข็ง เดิมของวัสดุ แทนที่ด้วยบรรยากาศสมูท ผ่อนคลาย

Photo courtesy HAS design and research

ความน่าสนใจของการติดตั้งระแนงอะลูมิเนียมที่ไล่ระดับหลายเลเยอร์แบบลอยตัว จำลองสภาพหินงอกหินย้อยภายในถ้ำ คือจุดเด่นที่สร้างความประทับใจทันทีให้แก่ผู้พบเห็น และหลายคนคงเกิดคำถามในใจว่า ‘ติดตั้งได้อย่างไร’ ภายใต้ระยะเวลาจำกัดและน้ำหนักของวัสดุ เนื่องจากวัสดุอะลูมิเนียมทั้งหมดของพาวิเลียนมีน้ำหนักสูงถึง 11.5 ตัน หรือ 11,500 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อเทียบแล้วจะเท่ากับช้างเอเชียที่โตเต็มวัยประมาณ 3-4 ตัว (เฉลี่ยน้ำหนักตัวละ 3-4 ตัน)

คุณฐิตกร อุษยาพร ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการพาณิชย์ บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด (มหาชน)

วันนี้เรามีโอกาสได้ร่วมพูดคุยกับคุณฐิตกร อุษยาพร ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการพาณิชย์ บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด (มหาชน) อีกหนึ่งพันธมิตรสำคัญด้านโครงสร้างเหล็กที่อยู่เบื้องหลังการเนรมิต ‘Aluminum Grotto’ ในครั้งนี้

 บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด (มหาชน)  หรือ Pacific pipe คือบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเหล็กรูปพรรณมาตรฐานสากลสำหรับงานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 52 ปี ผลิตภัณฑ์เหล็กรูปพรรณที่มีความแตกต่างตามประเภทการใช้งาน อาทิ ท่อสำหรับงานระบบ ท่อสำหรับโครงสร้าง ที่มีทั้งเหล็กท่อกลม เหล็กกล่อง และเหล็กตัวซี (C Light Lip Channel)

“เราเคยร่วมงานกับ HAS มาก่อนในโปรเจกต์ Phetkasem Artist Studio รับรู้ว่าทั้งคุณเจอร์รี่และคุณป้อเป็นคนที่แพสชั่นด้านวัสดุเหล็ก ในมุมของเราที่ต้องการสื่อสารและยกระดับอุตสาหกรรมให้เติบโตเพื่อให้ผู้คนรับรู้คุณสมบัติและความสามารถของท่อเหล็ก จึงตัดสินใจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในโปรเจกต์นี้เมื่อได้รับการติดต่อ โดยได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ท่อเหล็กแบรนด์ TMZ ของเรา ซึ่งเป็นท่อเหล็กคุณภาพ มาตรฐาน มอก. ภายใต้การผลิตของ Pacific Pipe เพื่อนำไปผลิตเป็นโครงสร้างสำหรับ Thematic Pavilion ให้มีความแข็งแรงและติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว” คุณฐิตกรเผยถึงที่มา

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เหล็ก TMZ เกรด SS400 ที่นำมาใช้ผลิตโครงสร้างได้แก่ 

  1. เหล็กกล่องขนาด 100x100x3.2 mm 
  2. เหล็กกล่องขนาด 50x50x3.2 mm 
  3. เหล็กตัว C ขนาด 75x45x15x2.3 mm

TRUSS to be Touched

ในแง่การออกแบบโครงสร้างเหล็ก เพื่อส่งมอบการสัมผัสสถาปัตยกรรมให้ได้ตรงตามความตั้งใจของ HAS และเสริมความโดดเด่นในการโชว์วัสดุเอกอย่างอะลูมิเนียมจาก S-ONE รูปแบบของโครงเหล็กที่วิศวกรที่ปรึกษาออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการติดตั้ง Aluminum Grotto ใช้โครงถัก (Truss) ที่สามารถถ่ายแรงกระจายน้ำหนัก มีความแข็งแรงและสร้างสมดุลได้ดี ตัวโครงได้รับคำนวณทางวิศวกรรมเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างมั่นคง แข็งแรง ทั้งการจัดวางองศาและระยะความถี่ เพื่อให้พร้อมรองรับการเข้าชมทุกพื้นที่ของพาวิเลียนอย่างปลอดภัย

 ส่วนลักษณะการติดตั้งใช้วิธีประกอบชิ้นงาน (Fabrication) จากภายนอก แยกเป็นกลุ่ม เพื่อนำไปประกอบติดตั้งภายในอาคารอีกครั้ง ซึ่งการติดตั้งโครงสร้างเหล็กร่วมกับทุกส่วนประกอบของพาวิเลียนใช้ระยะเวลารวม 3-4 วันเท่านั้น

จากภาพตัวอย่างด้านบนสังเกตได้ว่า ส่วนของเลเยอร์อะลูมิเนียมลอยตัวที่จัดวางเรียงให้เกิดเส้นโค้ง ยกลอยโดยใช้วิธีนำอะลูมิเนียมยึดเข้ากับโครง subframe ที่ทำหน้าที่เป็นคานเล็กเพื่อให้แขนอะลูมิเนียมมายึด จากนั้นโครง subframe จะยึดกลับไปที่โครงหลัก

Relearn and Have fun

ก่อนเข้าร่วมสัมผัสความสวยงามภายในงานปีนี้ที่ทุกคนเฝ้ารอในอีกไม่กี่วันข้างหน้า คุณฐิตกรได้ฝากข้อความทิ้งท้ายถึงสถาปนิกและนักออกแบบที่มองหาไอเดียด้านการก่อสร้าง บนความท้าทายใหม่ในการสร้างสรรค์ผลงานไว้ดังนี้

“ในบ้านเรา การใช้วัสดุวันนี้ ผมว่ายังไม่หลากหลายโดยเฉพาะเรื่องของท่อเหล็กรูปพรรณ เราในฐานะผู้ผลิตวัสดุจึงอยากสื่อสารให้น้องๆ สถาปนิก รับรู้ว่าท่อเหล็กรูปพรรณนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง แม้น้องๆ ยังไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้ที่เพียงพอก็ไม่เป็นไร มาหาเราเพื่อพูดคุยกันได้ เพราะเราเป็นผู้ผลิตที่มีองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและมีความพร้อมสูง ที่จะลองเล่นโจทย์ยาก

นำอะลูมิเนียมยึดเข้ากับโครง subframe ที่ทำหน้าที่เป็นคานเล็กเพื่อให้แขนอะลูมิเนียมมายึด จากนั้นโครง subframe จะยึดกลับไปที่โครงหลัก

อย่าลิมิตการออกแบบหรือตีกรอบความคิด อย่าเพิ่งบอกว่าวันนี้ไม่มีเกมเล่น เพราะคิดว่าไม่มีความเข้าใจเรื่องเหล็ก ถ้าวันนี้คุณออกแบบมาแล้วยังไม่มีเกมเล่น มาหาเรา เราจะมาช่วยกันดู มาลองเล่นไปกับเรา เพราะเรามั่นใจว่า เราสามารถทำให้ทุกจินตนาการในการออกแบบเป็นจริงได้”

ทั้งนี้ นอกจากการใช้งานเหล็กในรูปแบบโครงสร้างที่เห็นได้จาก Thematic Pavilion แล้ว ‘เหล็ก’ ยังเป็นวัสดุที่ได้รับการยอมรับและใช้งานในด้านอื่นๆ อีกมากมายทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะตอบโจทย์การนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบได้อย่างอิสระ ทั้งงานที่โชว์ความสวยงามของโครงสร้าง งานตกแต่ง รวมถึงงานพื้นต่างๆ ฯลฯ

สนามเด็กเล่นไอเดียเพื่อสถาปนิกเปิดแล้ว มาพบความเป็นไปได้ด้านวัสดุ นวัตกรรม และองค์ความรู้ระดับสากลด้านสถาปัตยกรรมจากวิทยากรในเวทีนานาชาติมากมายได้แล้วที่งานสถาปนิก’67: งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00-20.00 น. ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ป้ายกำกับ :
Logistics Material World WDC กระเบื้อง คลังสินค้า วัสดุตกแต่งพื้นผนัง โลจิสติกส์
แชร์